ข้อมูล
 
ไฟล์เสียงร้อยสาระ FM100
ไฟล์เสียงร้อยสาระ FM100
ตะกร้าสินค้า
0 รายการ
 
สินค้าน่าสนใจ
 

* กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

 

กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ (อ่าน 782/ตอบ 0)

โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบสำหรับผู้สูงอายุ เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักไม่ค่อยมีอาการแสดงให้เห็น โดย รศ.นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า โรคกระดูกพรุน เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกหรือมวลกระดูกมีน้อยลง จนทำให้กระดูกเปราะกว่าปกติ หักง่าย มักไม่ค่อยแสดงอาการ  แต่ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการ เช่น หลังโก่ง เตี้ยลง เช่น จากที่เคยสูง 170 เซนติเมตร แล้วเตี้ยลง 160-165 เซนติเมตรอันนี้ชัดเจน 
    
ขณะนี้ประเทศไทยตรวจพบผู้ป่วยที่  เป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มสูงขึ้น  สถิติขององค์   การอนามัยโลก พบว่า โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญต่อประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด โดยผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40% ในขณะที่ผู้ชายมีโอกาสกระดูกหัก 13% 
    
กระดูกตะโพกหักจากภาวะกระดูกพรุนส่วนใหญ่ จะทุพพลภาพและเสียชีวิตค่อนข้างมาก แม้ว่าจะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างดี และการดูแลหลังการผ่าตัดอย่างถูก  ต้อง คือประมาณ 20% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี และ 50 % ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดพลัดตกหกล้ม 
    
การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด มี 2 วิธี ได้แก่ การดามด้วยโลหะชนิดพิเศษ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียมบางส่วน หลังผ่าตัดรักษา มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน หรือการที่ผู้ป่วยไม่สามารถลุกเดินได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องฝึกทำกายภาพบำ  บัด การเคลื่อนไหวลุกเดิน นอกจากนี้คนไข้ยังต้องได้รับการดูแลรักษาภาวะกระดูกพรุน และดูแลสภาพแวดล้อมที่บ้านเพื่อไม่ให้เกิดการล้มได้ง่ายอันจะนำมาซึ่งการเกิดกระดูกหักซ้ำอีกด้วย
    
รศ.นพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในกลุ่มวัยนี้ลดลงถึง 3-5% ต่อปี ขณะที่มวลกระดูกของผู้ชายจะลดลง 0.8 % ดังนั้นแนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เสริมการรับประทานแคลเซียม ที่ได้จากอาหาร และนม ออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อรับวิตามินดี โดยทั่วไปควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม แต่ข้อมูลจากการศึกษากลับพบว่า คนไทยได้รับแคลเซียมเพียงวันละ 361 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น 
    
โรคกระดูกพรุนยังมีปัจจัยสำคัญมากจากพันธุกรรม ดังนั้นผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวทางสายมารดาเป็นโรคกระดูกพรุน ควร  ได้รับการตรวจภาวะกระดูกพรุน รวมถึงผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนวัย คนรูปร่างผอมบาง ขาดแคลเซียมและวิตามินดี สูบบุหรี่ คนที่ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน  
       
การตรวจหาโรคกระดูกพรุนที่นิยมทำกันในปัจจุบันจะตรวจด้วยเครื่องวัดมวลกระดูก การตรวจก็ไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บตัวและรู้ผลในเวลาอันรวดเร็ว คนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน หรืออายุ 65 ปีขึ้นควรได้รับการตรวจ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์จะให้ยาต้านภาวะกระดูกพรุน ซึ่งมีทั้งชนิดฉีดและรับประทาน แต่การให้ยานั้น แพทย์จำเป็นต้องตรวจคัดกรองผู้ป่วย เพื่อพิจารณาให้ยาตามความจำเป็น.