* งา... ธัญพืชเมล็ดจิ๋ว
งา... ธัญพืชเมล็ดจิ๋วอันทรงคุณค่า
ปราณี รัตนสุวรรณ
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
ชื่ออื่นๆ : งาขาว ,งาดำ ,นีโซ ไอยู่มั้ว(จีน), Benne, Gingelly, Sesame, Teel
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesamum indicum Linn., S. orientle,L
วงศ์ : PEDALIACEAE

เอธิโอเปีย ต่อมาก็ถูกนำเข้าไปยังอินเดีย จีน แอฟริกาเหนือ
และเอเชียใต้ ในราวประมาณ ๒,000 ปีมาแล้ว ก่อนคริศต
ศักราชและในศตวรรษที่ ๑๗ ได้ถูกนำเข้าไปในทวีปอเมริกา
ส่วนในประเทศไทย งา ก็เป็นที่รู้จักกันมาช้านาน ซึ่งนำมาใช้
ประโยชน์ไดทั้งทางยา อาหาร และเครื่องสำอาง คนในสมัยก่อน
ใช้น้ำมันงามาประทินความงาม อาทิ โลชั่นทาผิว ซึ่งในสมัยนั้น
ไม่มีโลชั่น เพราะน้ำมันงาสามารถช่วยลดแรงตึงผิว ป้องกันผิว
แตก สตรีมีครรภ์มักใช้ทาหน้าท้องป้องกันท้องลาย หรือใช้หมัก
ผมทำให้ผมนุ่มดกดำ
นอกจากนั้นคนภาคใต้ในสมัยโบราณเมื่อมีงานมงคลต่างๆ ก็ต้องมีเครื่องเซ่นไหว้ บูชา
เช่น กล้วย อ้อย ถั่ว และที่ลืมไม่ได้ คือ “งา” สิ่งเหล่านี้ถือเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดปฏิบัติกันมา
เพราะถือเคล็ดว่าให้เจริญงอกงามเหมือน งา ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมใดก็สามารถอยู่ได้

งาเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กเนื้ออ่อน ลำต้นจะตั้ง
ตรงถึงยอดลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม มี
ความสูงประมาณ 0.๕-๒ เมตร อวบน้ำลำต้นมีสีเขียวเข้มอาจมี
ม่วงปน ใบลักษณะของใบคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนทั้ง
ด้านบนและใต้ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่หรือรูปหอกเรียงตรงข้ามหรือ
สลับ ขอบใบเป็นจัก สีเขียวอ่อนจนถึงเข้ม บางพันธุ์มีสีเหลือง
ก้านใบยาว ๕ เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ ๑-
๓ ดอก ก้านดอกสั้นประมาณ ๕ มิลลิเมตร มีต่อมน้ำหวานสี
เหลืองหรือสีดำที่ฐานดอกทั้งสองข้าง กลีบรองดอก มี ๕ แฉก
ยาว ๓- ๗ มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นรูประฆังยาว ๔- ๕ เซนติเมตร ส่วยปลายแยก
เป็น ๒ กลีบ คือกลีบและกลีบล่าง กลีบบนมี ๓ หยัก กลีบล่างจะยาวกว่า และห้อยย้อยลงมา ดอก
จะบานเมื่อ ๒ กลีบนี้แยกออกจากกัน กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ด้านในของรูป
ระฆัง จะมีสีเหลืองหรือจุดประสีม่วง เกสรตัวผู้มี ๒ คู่ คู่หนึ่งสั้น อีกคู่หนึ่งยาว ก้านเกสรตัวเมีย
ยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น ๒ – ๔ แฉก ดอกจะบานในตอนเช้าและร่วงใน
ตอนเย็น ผลหรือฝัก ค่อนข้างกลมป้อม รูปทรงกระบอกหรือแบน ฝักยาว ๒-๓ เซนติเมตร ฝักมีขน
สั้นๆปกคลุม ปลายฝีกจะมีงอยแหลม เมื่อฝักแก่จะแตกออกทำให้เมล็ดร่วงหลุดได้ เมล็ดรูปไข่ มี
ขนาดเล็กเรียงซ้อนกันอยู่ ในฝัก ๗0 – ๑00 เมล็ดต่อฝัก งาดำมีเมล็ดเป็นสีดำมันขนาดโตกว่าเม็ด
แมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล
การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว
งาเจริญงอกงามได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ถ้าให้เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย(Sandy loma)
ไม่แฉะหรือมีน้ำท่วมขัง พื้นที่ต้องมีการระบายน้ำได้ดี สภาพภูมิอากาศหรืออุณหภูมิประมาณ ๒๕
– ๒๗ องศาเซลเซียส และงาพันธุ์ต่างๆ สามารถปลูกโดยการหว่าน ลงในดิน หลังจากนั้นเมื่อผล
แก่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวโดยการถอนทั้งต้นตากให้แห้ง ผลจะแตกทำให้เมล็ดงาร่วง และเก็บไว้ได้
นานเป็นปี

มีอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่ในเมล็ด
บางท่านอาจจะพอทราบถึงคุณค่าของงามาบ้างแล้วไม่ว่า
จะด้านยาอาหารและเครื่องสำอางถึงแม้ว่างาดำและงาขาวจะ
มีสารอาหารในปริมาณที่ต่างกันบ้างเล็กน้อยก็ตามแต่ความสม
บูรณ์ของสารอาหารต่างๆก็ให้ประโยชน์ได้อย่างพอเพียง ดังนี้
๑. โปรตีน ๒0-๒๕ % โดยมี Methionine สูงแต่พร่องLysine
จึงใช้ร่วมกับถั่วเหลืองเพื่อให้ได้โปรตีนสมบูรณ์
๒. คาร์โบไฮเดรทมีปริมาณต่ำ
๓. ไขมัน เมล็ดงามีน้ำมัน ๔๕- ๕๕ % เป็นน้ำมันที่มีกลิ่นหอม สีสวยและไม่เหม็นหืนง่าย มีกรด
ไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น กรดชนิด oleic , linoleic, palmitic , stearic รวมทั้งเลซิธินด้วย
๔. เกลือแร่ ๔.๑- ๖.๕ % ที่สำคัญคือ เหล็ก ไอโอดีน สังกะสี เซเลเนียม แคลเซียม และ
ฟอสฟอรัส โดยจะมีแคลเซียมมากกว่าพืชทั่วไปประมาณ ๒0 เท่า งาดำมีแคลเซียมสูงกว่างาขาว
ประมาณ ๒ เท่า และถ้าใช้ร่วมกับถั่วเหลือง (ซึ่งมี Ca : P เป็น ๑: ๒ ) จะทำให้ได้อัตราส่วนของ
แคลเซียมต่อฟอสฟอรัส เหมาะสมต่อการดูดซึม คือ ๑ : ๑
นอกจากนี้ งายังมีสารสำคัญอื่น เช่น lignan (sesamol, d-sesamin, sesamolin)
ประโยชน์ที่ได้จากงา
จิ๋วแต่แจ๋วครบเครื่องคุณค่า สมกับที่ชาวจีนเปรียบเมล็ดงาเทียบเท่ากับ “ หยก” ซึ่งมี
ประโยชน์ดังนี้ด้านอาหาร
การแพทย์ตะวันออก ถือว่างาเป็นอาหารบำรุงกำลังที่ดี ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยให้
แข็งแรงอายุยืน การเตรียมเพื่อใช้เป็นอาหารควรคั่วเมล็ดงาด้วยไฟอ่อนๆ แล้วตำพอแตก ใส่เกลือ
ทะเลที่คั่วแล้ว ๑0-๒0 % ตำรวมกันอีกครั้งหนึ่ง เก็บในภาชนะปิดสนิท ใช้ภายใน ๘ วัน
นอกจากนี้เมล็ดงายังเป็นส่วนประกอบในอาหารคาวหวานชนิดต่างๆ ได้อีอย่างมากมาย
เช่น ใช้แทน Cocoa burter ในการทำชอกโกแลตเป็นต้น ส่วนน้ำมันงาสามารถใช้ปรุงอาหาร
และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม เนย เนยเทียม น้ำมันสลัด สำหรับกากเมล็ดที่บีบเอาน้ำมันออก
แล้ว (meal) ยังสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดีอีกด้วย
ประโยชน์ในด้านเสริมอาหารจากงา ยังมีรายงานการวิจัยระบุไว้อีกว่า
๑. ต้านการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant activity)
- สารสกัดอะซีโตนจากเมล็ดงา ซึ่งมีกรดลิโนเลอิก (linoleic acid) ขนาดความเข้มข้น
0.๒ มก. สามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่น
- สารเซซามิน และ เซซามอล สามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่น และช่วยเพิ่ม วิตามิน
อีแก่หนู
- สารเซซามินนอล จากเมล็ดงา สามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่น ของไขมัน
- สารเซซามอลในน้ำมันงาขาว เมื่อผสมลงในอาหารมีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นที่ดี
๒. มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogenic effect)
- ป้อนเมล็ดงาขนาด ๒ ก./ นนตัว แก่หนูเพศเมีย ที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่ทางปากพบว่า
มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน
๓. เสริมสร้างวิตามินให้ร่างกาย (Vitamin activity)
- สารกลุ่มลิกแนนส์ในเมล็ดงา วิตามินอี (Tocopherol) และ Tocopherol เป็นแหล่ง
อาหารที่ดี ทำให้ร่างกายของคนเรามีวิตามินอีเพิ่มมากขึ้น
๔. ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth perfomance)
- โปรตีนในเมล็ดงา เมื่อผสมลงในอาหาร ๑๗-๑๘ % ของอาหาร สามารถช่วยให้
กระต่ายและไก่เจริญเติบโตได้ดี
ด้านการรักษาโรค
๑. ลดความดันโลหิตสูง (Hypotensive activity, Antihypertensive activity)
- สารสกัด ๗0 % เมทานอลของเมล็ดงาขนาด ๓ มก./กก. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำใน
หนู สามารถลดความดันโลหิตได้
- สารเซซามิน (sesamin) ในน้ำมันงาสามารถลดความดันโลหิตสูงในหนูที่เหนี่ยวนำให้
เกิดความดันโลหิตสูง โดยนำหนูอายุ ๖ สัปดาห์มาทดลอง และเหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูง
จากนั้นแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม โดยกลุ่มที่ ๑ รักษาโดยให้อาหารแบบธรรมดา กลุ่มที่ ๒ ให้อาหารที่มีเซ
ซามินเป็นส่วนผสม ทำการวัดโลหิตทุก ๑ สัปดาห์ ผลปรากฏว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารที่มีเซ
ซามินเป็นส่วนผสม ความดันโลหิตลดลง
๒. ลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด (Hycholester- olemic activity) &
(Hypolipidaemic activity)
- สารในกลุ่มลิกแนนส์จากเม็ดงา เมื่อผสมในอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันดอกคำฝอย,
และน้ำมันอีฟวินนิ่งพริมโรส (safflower oil, evening primrose oil) ในขนาด 0.๒ %
ของอาหารเป็นเวลา ๓ สัปดาห์ในหนู สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกรีเซอร์ไรด์ใน
กระแสเลือดได้
- โปรตีนในเมล็ดงา สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในหนู เนื่องจากในเมล็ดงา มี
อัตราส่วนของ lysine : arginine เท่ากับ 0.๖๗
- ผสมน้ำมันงาลงในอาหารขนาด ๒๔ % ของอาหารในหนูรับประทานเป็นเวลา ๔
สัปดาห์ ผลปรากฏว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง
- สารเซซามินในเมล็ดงา สามารถลดระดับ LDL-cholesterol ในกระแสเลือดของคน
(ซึ่ง LDL-cholesterol เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค Athersclerosis(ไขมันอุดตันในเส้นเลือด)
- สารฟลาโวนอยด์ในเมล็ดงา สามารถลดระดับไขมันในเลือดของหนูได้ แต่ว่าหาก
รับประทานน้ำมันงามากเกินไป จะมีผลให้ไขมันในเลือดสูงได้เช่นเดียวกันดังนี้
น้ำมันงาเมื่อรับประทาน ในขนาด ๖0 กรัม/คน ทำให้ไขมันในเลือดสูง : เมื่อให้
น้ำมันงาแก่กระต่าย ขนาด 0.๔ กรัม/กก./นน.ตัว ทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ทำให้ไขมันใน
เลือดของกระต่ายสูงขึ้น
๓. ต้านการอับเสบ (Antiinflammayory activity)
- สารเซซามินในน้ำมันงา มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีการติดเชื้อ
และอักเสบด้วยสาร dienoic eicosanoids โดยไปยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase หรือ
phospholipasess
๔. ต้านเชื้อรา (Antifungal activity)
- น้ำมันงาใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันที่ใช้ทาเล็บ โดยมีส่วนผสมของ jojoba oil 50 %,
sesame oil 12.5 %, safflower oil 12.5 %, almond oil 12.5 %, rice bron oil 12.5 %
และ tolnaflate 3.1 % ซึ่งสามารถต้านเชื้อราที่เล็บได้
๕. รักษาผิวหนังอักเสบ (Dermatitis improvement)
- น้ำมันจากเมล็ดงา ใช้ทาภายนอกในอาสาสมัคร ๓๕ คน ที่มีแผลอักเสบบนผิวหนัง ทา
ทุกวันนาน ๒ ปี ทำให้แผลอักเสบดีขึ้น
๖. ฆ่าพยาธิตัวกลม (Nematocidal activity)
- สารสกัดเอทานอล ๙๕ % ปิโตรเลียมอีเทอร์ ของน้ำมันงาในความเข้มข้น ๕00 ส่วน
ต่อหนึ่งล้านส่วน (ppm) สามารถฆ่าเชื้อพยาธิตัวกลม
๗. ต้านการก่อกลายพันธุ์ (Antimutagenic effect)
- สารสกัดอะซิโตนของเมล็ดงา ความเข้มข้น 0.๒ก./เพลท สามารถต้านการก่อกลาย
พันธุ์ของเชื้อ Samonella typhimurium TA98, TA100 ในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ
๘. รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ใช้น้ำมันงาผสมกับยาแก้พิษสุราเรื้อรัง สามารถป้องกันพิษจากแอลกอฮอล์ และทำให้
เบื่อสุรา
๙. บรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวาร (Hemmorhoids)
- กรดไขมันในน้ำมันงา เช่น linoleic acid, oleic acid, palmatic acid, stearic
acid , สามารถบรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวารได้
สรรพคุณยาไทย
งามีรสฝาด หวาน ขม ทำให้น้ำดี กำเริบ น้ำมันใช้หุงเป็นน้ำมันใส่บาดแผลได้ดี การหุง
น้ำมันต้องใช้งาสดตำคั้นเอาน้ำ โดยใช้น้ำคั้นใบและเถาตำลึง บอระเพ็ด ขมิ้นอ้อย ไพล เอาน้ำมา
อย่างละ ๑ ถ้วย แล้วใส่น้ำมันงาลงไป ๑ ถ้วย ตั้งไฟเคี่ยวไปจนเหลือ ๑ ถ้วย เอาน้ำมันที่ได้ปรุง
ด้วยสีเสียดเทศและไทยสิ่งละนิดหน่อย หลอมตะกั่วนมให้ละลายเทลงในน้ำมัน แล้วเอาขึ้นหลอม
อีกจนได้ ๓ ครั้ง ทิ้งตะกั่วไว้ในนั้น ใช้น้ำมันใส่แผลจะช่วยสมานแผลได้ดีมาก นอกจากนี้ น้ำมันงา
ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และใช้ในโรคผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบวม พยาธิตัวหนอน(กริมิ) และโรค
เสมหะ ส่วนใบงาผสมกับน้ำมูตรใช้รักษาหัวหูด
ตำราอายุรเวทระบุว่า งาดำดีกว่างาขาว งาช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มเลือด กระตุ้นกำหนัด
ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว รักษาโรคปวดข้อ โรคตา สมานแผลในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องผูก
และท้องเสีย และใช้ภายนอกรักษาแผล ริดสีดวงทวาร คนอินเดียตอนใต้ นิยมใช้น้ำมันงาชโลม
ร่างกาย แล้วเข้าอบในกระโจมให้เกิดความร้อนเพื่อให้น้ำมันซึมสู่ผิวหนังได้ดีขึ้น เชื่อว่าขจัดความ
ปวดเมื่อย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แข็งแรง และ อายุยืน
แพทย์จีน จัดงาเป็นยารสหวาน ฤทธิ์ปานกลาง มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังที่ดีมาก เป็นยาปรับ
เลือดลม บำรุงตับ บำรุงน้ำนม รักษาประสาทส่วนปลายอักเสบ โดยมีตำรับยาอย่างง่ายๆ ดังนี้
๑. ปัสสาวะ อุจจาระขัด : เมล็ดงา ๒0-๒๕ กรัม แช่ในน้ำเดือด หรือต้มรับประทานน้ำขณะท้อง
ว่าง
๒. ความดันโลหิตสูง : เมล็ดงา น้ำส้ม ซีอิ้ว และน้ำผึ้งอย่างละ ๓0 กรัม ผสมกับไข่ขาว ๑ ฟอง
คนให้เข้ากันดี ต้มด้วยไฟอ่อนๆ จนสุก กินวันละ ๓ ครั้งเป็นประจำ
๓. ไอแห้ง ไม่มีเสมหะ : เมล็ดงา ๒๕0 กรัม กับน้ำตาลทรายแดง ๕0 กรัม บดรวมกัน กินครั้งละ
๑๕ – ๒0 กรัม วันละ ๒ ครั้ง เช้า- เย็น โดยเอายาผงที่ได้เติมน้ำเดือด แช่ไว้สักพักจึงดื่มขณะยัง
อุ่นๆ
๔. ขับพยาธิเข็มหมุด : เมล็ดงา ๕0 กรัม เติมน้ำต้มจนได้น้ำข้นๆ กรองเอาส่วนน้ำมาปรุงด้วย