ข้อมูล
 
ไฟล์เสียงร้อยสาระ FM100
ไฟล์เสียงร้อยสาระ FM100
ตะกร้าสินค้า
0 รายการ
 
สินค้าน่าสนใจ
 

ข้าวไรซ์เบอรี่ ( Riceberry)

ข้าวไรซ์เบอรี่ ได้มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้า หอมนิลกับข้าวขาว ดอกมะลิ 105 จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวพิเศษ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ได้ เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคคุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แกมมาโอไรซานอล วิตามินอี แทนนิน สังกะสี โฟเลตสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง ซึ่งจากคุณสมบัติข้อนี้ นอกจากจะใช้รับประทานเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ทางการแพทย์ยังนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารโภชนบำบัดอีกด้วย

สารอาหารสำคัญที่อยู่ในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่

สารอาหาร

ปริมาณ

ประโยชน์ต่อร่างกาย

โอเมกา -3

25.51 mg/kg

กรดไขมันจำเป็น มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับและระบบประสาท ลดระดับโคเลสเตอรอล

ธาตุสังกะสี

31.9 mg/kg

ช่วยสังเคราะห์โปรตีน สร้างคอลลาเจน รักษาสิว ป้องกันผมร่วง กระตุ้นรากผม

ธาตุเหล็ก

13-18 mg/kg

สร้างและจ่ายพลังงานในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮีโมโกลบินใน เม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ออกซิเจน ในร่างกาย และสมอง

วิตามินอี

678 ug/100g

ชะลอความแก่ ผิวพรรณสดใส ลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด สมองและหัวใจ ทำให้ปอดทำงานดีขึ้น

วิตามินบี1

0.42 mg/100g

จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย ป้องกันโรคเหน็บชา

เบต้าแคโรทีน(สารตั้งต้นของวิตามินเอ)

63 ug/100g

ชะลอความแก่ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง บำรุงสายตา

ลูทีน

84 ug/100g

ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม บำรุงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงตา

โพลิฟีนอล

113.5 mg./100 g

ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

แทนนิน

89.33 mg/100g

แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย

แกมมา โอไรซานอล

462 ug/100g

ลดระ ดับคอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเป็นปกติ ลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม

เส้นใยอาหาร (Fiber)

มีอยู่ปริมาณมาก ในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่

ช่วยลดระดับไขมันและโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยระบบขับถ่าย

สารต้านอนุมูลอิสระ ชนิดละลายในน้ำ

47.5 mg ascorbic acid equivalent /100g

 

สารต้านอนุมูลอิสระ ชนิดละลายในน้ำมัน

33.4 mg ascorbic acid equivalent /100g

 

ในสารสีม่วงของข้าวหอมมะลิสีนิลมีสารประกอบที่สำคัญก็คือ "แอนโทไซยานิน"  ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบมาก ในองุ่นแดงและพรุน โดยที่ข้าวหอมมะลิสีนิลก็มีสารนี้อยู่มากด้วยเช่นกัน สารแอนโทไซยานินที่มีในข้าวหอมมะลิสีนิล  ช่วยในการลดการหลุดร่วง แตกหักของเส้นผม และช่วยให้เส้นผมดำเงางาม รากผมแข็งแรง และช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น  ป้องกัน คุณไม่ให้เจ็บป่วยง่าย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีและดูอ่อนกว่าวัย 

จากรายงานการวิจัยของประเทศญี่ปุ่น ในการทดสอบกับสัตว์ทดลองพบว่า สารแอนโทไซยานินสามารถกระตุ้นการเจริญของเส้นผมได้เร็วขึ้นถึง 2 เท่าแอนโทไซยานินยังช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อช่วยลดการอุดตันของไขมันในเส้น เลือดช่วยป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มประสิทธิ ภาพการมอง เห็น และบำรุงสายตา ป้องกันมะเร็งทรวงอก  มะเร็งกระเพาะอาหาร  และมะเร็งเม็ดเลือดขาว

      นอกจากนี้ยังพบสารอาหารที่มีประโยชน์จำนวนมากที่มีในสีในเมล็ดข้าว ดังนั้นการบริโภคข้าวหอมมะลิสีนิลเป็นทางเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับการมีสุขภาพ ที่ดี สารอาหารที่มีในเมล็ดข้าวนี้มีส่วนช่วย ในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันการดูดซึมไขมันชนิดไม่อิ่มตัว

รำข้าวสีดำคือแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ

   ข้าวที่มีสีดำมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดี  เนื่องจากมี สารจับอนุมูลอิสระ ทั้ง quinolone alkaloid, vitamin E, phytate, g-oryzonol, polyphenol และ anthocyanin อยู่สูง ใน ข้าวสีดำพันธุ์ไรซ์เบอรี่ พบว่า มีปริมาณ polyphenolic ถึง 752.1 mg/100g, anthocyanin 250.36 mg/100g และ beta carotene    63.3 ug/100g ซึ่งพบอยู่มากในส่วน pericarp สารทั้งสามชนิดมีความสัมพันธ์กับความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะ polyphenolic ดังนั้นรำข้าวสีดำจึงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ

   กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งรวมถึงโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทยในทุกกลุ่มอายุ อวัยวะ สำคัญที่พบคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด เต้านม และมะเร็งทางเดินอาหารอัตราตายด้วยโรคมะเร็งต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 12.6 คน เป็น 68.8 คน ในช่วงปี พ.ศ. 2510- 2544 (กระทรวงสาธารณสุข) อนุมูลอิสระของออกซิเจน หรือ reactive oxygen species (ROS) เกิดขึ้นได้จากกระบวนการปกติของร่างกายและเพิ่มขึ้นจากการอักเสบ

การได้รับสารเคมีจากมลพิษ ยาบางชนิด การสูบบุหรี่หรือการได้รับรังสี ROS ทำให้เกิด ปฏิกิริยา lipid peroxidation ซึ่งส่งผลทำให้สารพิษสามารถเข้าไปทำให้เกิดความเสียหายกับเยื่อหุ้มเซลล์, โครงสร้าง DNA และ RNA ตลอดจนชีวโมเลกุลในเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิดเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไต, โรคข้อ รวมทั้งโรคมะเร็ง
      การศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า  การรับประทานผัก ผลไม้ รวมทั้งธัญพืช ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงสามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังดังกล่าวได้  นอก จากนี้การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารหลายๆประเภทจะให้ผลในการป้องกัน มากกว่าการได้รับจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเนื่องจากมีฤทธิ์สร้างเสริมกัน ธัญพืชให้สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อได้รับ ร่วมกับสารกลุ่มที่มาจากผักและผลไม้ โดยฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในข้าวมาจากกลุ่มสารประกอบฟีนอล (Phenolic acid derivatives) พบได้มากในส่วนของรำข้าว 
ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ

จากการศึกษาพบว่าข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระยิ่งมีมากขึ้น  โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 35.3 ถึง 214.7 µmole/g จากการศึกษาด้วยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity)  โดยเฉพาะในรำข้าวไรซ์เบอรี่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง ถึง 304.7 µmole/g และเมื่อนำข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียว พบว่ามีประสิทธิภาพในการต้าน อนุมูลอิสระมาก กว่า เกือบ 100 เท่า 

   

สำหรับกระบวนการหุงต้มข้าวที่มีสีม่วงเข้ม ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พบว่ามีผลทำให้ ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือลดประสิทธิภาพลงประมาณครึ่งหนึ่งของข้าวดิบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วข้าวสีม่วง ยังมีคุณภาพและมีประสิทธิสูงกว่าน้ำผลไม้พร้อมดื่ม หรือน้ำดื่มชาเขียวที่ขายตามท้องตลาด ขึ่งสีเมล็ดข้าวยิ่งมีความเข้มเท่าไรยิ่งทำให้มีผลในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงขึ้นเท่านั้น

 จากงานวิจัยพบ ว่า ข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่เมื่อหุงสุกแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ ไม่ได้ถูกความร้อนทำลายหมด จึงเป็นแหล่งอาหาร ที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และ โรคมะเร็งได้

ขอบคุณ  ข้อมูลข้าวหอมมะลิสีนิล ไรซ์เบอรี่ และภาพ  จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว  ,  www.
sininrice.com

พัฒนาต่อโดย Cenixoft
ขับเคลื่อนโดย OpenCart ภาษาไทยโดย ThaiOpenCart
Grace Herb And Nutraceutical ( Thailand ) Co;Ltd. © 2023